รับผลิตปากกา พรีเมี่ยม ปากกา สกรีนโลโก้

อันตรายจากปากกาลบได้
แค่เพียงปากกาด้ามเล็กๆแต่ก่อให้เกิดเรื่องราวใหญ่โตจนถึงขั้นทำให้หลายคนหมดตัวมานักต่อนัก บางคนอาจจะคิดว่าปากกาเพียงด้ามเดียวไม่น่าจะทำก่อเรื่องขนาดนั้นได้ ใครที่กำลังคิดแบบนี้อยู่ถ้าหากได้อ่านบทความนี้จบก็จะรู้ว่าคุณคิดผิด! ในวงการปากกาได้มีการพัฒนารูปทรงของปากกาตลอดจนน้ำหมึกให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งานและต้องมีเอกลักษณ์มากที่สุด ซึ่งนอกจากจะแข่งขันกันผลิตปากกาหมึกซึม ปากกาลูกลื่น ตลอดจนปากกาที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาดแล้วนั้น ปากกาลบได้ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยนักพัฒนาที่ชื่อว่า Pilot และเริ่มโด่งดังขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ในแถบทวีปยุโรป และเริ่มกลับมามีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ.2550
เมื่อปลายปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยเริ่มมีการเตือนภัยเกี่ยวกับการใช้ปากกาบางชนิดที่สามารถลบออกได้โดยใช้ความร้อน ซึ่งไม่ใช่วิธีการลบโดยใช้ปากกาลบคำผิดหรือยางลบ เพราะวิธีการดังกล่าวจะไม่สามารถลบกระดาษให้กลับมาสะอาดเหมือนเดิม แต่หมึกปากการูปแบบใหม่นี้เมื่อโดนความร้อน หมึกที่เคยเขียนไปแล้วจะค่อยๆเลือนหายไปจนหมด หลังจากนั้นก็เริ่มมีผู้เสียหายที่ถูกโกงกลายเป็นข่าวโด่งดังและสาเหตุก็เนื่องมาจากปากกาเล็กๆเพียงด้ามเดียว ไม่ว่าจะเป็นข่าวการโอนหุ้นมูลค่า 300ล้านบาทให้กับพริตตี้ ซึ่งหลังจากนั้นทางตำรวจก็สืบทราบได้ว่าข้อความบางส่วนในใบโอนหุ้นถูกเขียนขึ้นโดยใช้ปากกาลบได้นั่นเอง นอกจากนี้ประเทศเวียดนามก็ได้เห็นถึงคุณสมบัติดังกล่าวพร้อมทั้งประกาศคุมเข้มและหยุดการอนุญาตนำเข้าปากกาลบได้ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะมีผู้เสียหายเพิ่มขึ้นหากไม่มีการควบคุมการนำเข้าปากกาดังกล่าว
หมึกของปากกาลบได้นั้นประกอบไปด้วยสารประกอบ 3 ชนิด ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการของการเปลี่ยนสภาพสีตามอุณหภูมิ ในที่นี้จะแทนชื่อสารทั้ง 3 คือ สาร A แทนสีของหมึก สาร B คือ สารที่ทำให้หมึกเกิดเป็นสี และสาร C คือสารที่ทำให้สีหมึกเปลี่ยนเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เมื่อใช้ปากกาดังกล่าวเขียนที่อุณหภูมิห้อง สาร A และสาร B จะเข้าทำปฏิกิริยาต่อกันทำให้เกิดสีขึ้น ในขั้นตอนนี้สาร C ก็อยู่เฉยๆ เมื่อต้องการลบสีของปากกาก็ทำได้โดยใช้ยางลบถูวนไปมาให้เกิดความร้อน เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น สาร C ก็จะทำหน้าที่แยกสาร A และสาร B ออกจากกันทำให้สีหมึกโปร่งแสงเสมือนเลือนหายไป แต่ถ้าหากจะทำให้สีของหมึกกลับคืนมาก็ทำได้โดยนำกระดาษไปวางไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส สาร A และสาร B ก็จะกลับมาทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นสีหมึกให้เห็นอีกครั้งนั่นเอง
Sign In or Register to comment.